กระบวนการเสริมสร้างทักษะพฤติกรรมผู้เลี้ยงดูหลักเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของกระบวนการเสริมสร้างทักษะพฤติกรรมผู้เลี้ยงดูหลัก ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย อำเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูล ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เลี้ยงดูหลักและเด็กอายุ 3 – 5 ปี จำนวน 45 คู่ โดยใช้เกณฑ์คัดเข้าของกลุ่มตัวอย่าง ระยะเวลาศึกษา เดือน กุมภาพันธ์ – ตุลาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือ DSPM ,แบบวัดทักษะพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการของผู้เลี้ยงดูหลัก และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบความแตกต่างภายในกลุ่มด้วย Paired t-test

ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการเสริมสร้างทักษะพฤติกรรมผู้เลี้ยงดูหลักในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ดำเนินกิจกรรมตามกระบวนการ จำนวน 5 ครั้ง ได้แก่ กิจกรรมครั้งที่ 1 : การสร้างความพร้อม ,กิจกรรมที่ 2 : การสร้างสายใย ,กิจกรรมที่ 3 : การสร้างวินัย ,กิจกรรมที่ 4 : การสร้างเด็กเก่ง 1 และกิจกรรมที่ 5 : สร้างเด็กเก่ง 2 เด็กที่เข้าร่วมกระบวนการ เพศชาย ร้อยละ 51.11 เพศหญิง ร้อยละ 48.89 อายุเฉลี่ย 3.92 ปี ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะเสี่ยงจากการคลอด มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 100 ส่วนใหญ่ด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม ร้อยละ 66.67 รองลงมา คือ ด้านการเคลื่อนไหว ร้อยละ 62.22 และด้านการใช้ภาษา ร้อยละ 13.33 หลังเข้าร่วมกระบวนการกลับมามีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 100 ,ทักษะพฤติกรรมของผู้เลี้ยงดูหลัก มีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกระบวนการ 25.31 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .005 (95% ,p<.001) และความฉลาดทางอารมณ์ ทุกด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับปกติ คือ ด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข ร้อยละ 91.11 , 91.11 และ 100 ตามลำดับ

คำสำคัญ: การเสริมสร้างทักษะพฤติกรรม, ผู้เลี้ยงดูหลัก, พัฒนาการเด็ก, เด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง: วิชิตา ถิ่นวัน

กระบวนการวิจัย:  Methods: Cross-sectional study

วารสาร: วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา จ.กาฬสินธ์

ปี: 2567

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/271089

แชร์โพสนี้ :

Facebook
Twitter
LinkedIn

โพสที่เกี่ยวข้อง :