การจัดการตนเองและการจัดการภายในครอบครัวของครูสตรีมุสลิมสมรส ที่นำไปสู่ครอบครัวอบอุ่น: กรณีศึกษาจังหวัดยะลา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบรายกรณีศึกษา (Case Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย องค์ประกอบของครอบครัวอบอุ่นตามการรับรู้ของครูสตรีมุสลิมสมรส และเพื่อศึกษาเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการจัดการตนเองและการจัดการภายในครอบครัวของครูสตรีมุสลิมสมรสที่นำไปสู่ครอบครัวอบอุ่น คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง เป็นบุคคลที่ประกอบอาชีพครู มีบุตรและใช้ชีวิตครอบครัวไม่ต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 3 คน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า ครอบครัวอบอุ่นตามการรับรู้ของครูสตรีมุสลิมสมรส คือ ครอบครัวที่อยู่บนพื้นฐานของอิสลาม มีวิถีการดำเนินชีวิตตามศาสนาอิสลามได้กำหนดไว้ และองค์ประกอบของครอบครัวอบอุ่นประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้สึกที่มีต่อครอบครัว และด้านการแสดงออกทางพฤติกรรม อันได้แก่ การมีบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน การใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว การสื่อสารในครอบครัว การปลูกฝังเรื่องศาสนา การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว การแสดงความรักในครอบครัว และการมีจิตช่วยเหลือสังคม

เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการจัดการตนเองของครูสตรีมุสลิมสมรสที่นำไปสู่ครอบครัวอบอุ่น เกิดจากสาเหตุภายในบุคคลที่มีลักษณะนิสัยเป็นผู้นำ และมีวินัยในตนเอง และเกิดจากสาเหตุภายนอกบุคคล อันได้แก่ การได้รับแบบอย่างจากบุคคลในครอบครัว การมีบทบาทหน้าที่ในวัยเด็กและการจัดการเวลาได้ดี สำหรับเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภายในครอบครัว เกิดจากสาเหตุภายในบุคคลที่มีลักษณะของความเป็นผู้นำ และมีวินัยในตนเอง และเกิดจากสาเหตุภายนอกบุคคล อันได้แก่ มีการวางแผนชีวิตครอบครัว การปรับตัว การแก้ปัญหาด้วยศาสนา วิธีการอบรมเลี้ยงดูบุตร มีหลักการใช้ชีวิตครอบครัว และจัดการเวลาได้ดี

Methods

งานวิจัยเชิงคุณภาพแบบรายกรณีศึกษา (Case Study)

Author

Nachima Bakoh

ดุษฎี โยเหลา

วิชุดา กิจธรธรรม

ฐาศุกร์ จันประเสริฐ

Journal

วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

Year: 2024 2556

Click here for more information

Share :

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Posts :