การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาหรือปู่ย่าตายายกับเด็ก ที่ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก

Abstract

การศึกษาเชิงคุณภาพ แบบชาติพันธ์ุวรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาลักษณะของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตรและผลที่เกิดขึ้นในครอบครัวที่บิดามารดาทำงานในเขตอุตสาหกรรม ผู้เข้าร่วมวิจัยประกอบด้วย 22 ครอบครัว ที่มีบุตรอายุ 12-36 เดือน ทำงานในเขตอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกจากสถานีอนามัย และโรงงานในเขตอุตสาหกรรม ในอำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี
เก็บรวบรวมข้อมูลโดย การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ช่วงเวลาเก็บข้อมูลตั้งแต่ เดือนสิงหาคม 2008 ถึงเดือน กันยายน 2009 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่าในชีวิตประจำวันการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและบุตรเกิดขึ้นใน 5 กิจกรรมคือ การให้อาหารลูก การเล่นกับลูก การสอนลูก การฝึกระเบียบวินัยลูก และการดูแลกิจวัตรประจำวันของลูก ส่วนลักษณะของพฤติกรรมของพ่อแม่เมื่อปฏิสัมพันธ์กับลูก เกิดขึ้นใน 4 ลักษณะ คือ การกระตุ้น การสนับสนุน การไม่สนใจหรือเพิกเฉยและการขู่หรือคุกคามลูก ส่วนลักษณะพฤติกรรมของลูก ในระหว่างปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่มี 2 ลักษณะคือ การให้ความร่วมมือ และการไม่ให้ความร่วมมือ นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบอีกว่า การปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก ส่งผลต่อการเจริญเติบโตด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านภาษา และอารมณ์และสังคมของเด็ก

ผลการศึกษาครั้งนี้จะช่วยให้พยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพ เข้าใจลักษณะปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก สามารถนำความรู้นี้ไปใช้ในการส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูก โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีบุตรในวัยทารกและวัยก่อนวัยเรียน และสามารถพัฒนาโปรแกรมเพื่อเพิ่มคุณภาพการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกที่จะนำไปสู่พัฒนาการเด็กที่ดีขึ้นต่อไป

Methods

การศึกษาเชิงคุณภาพ แบบชาติพันธ์ุวรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดย การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ เชิงลึก และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

Author

ณัชนันท์ ชีวานนท์, จินตนา วัชรสินธ์, พิศมัย หอมจำปา, รุจา ภู่ไพบูลย

Journal

Pacific Rim International Journal of Nursing Research

Year 2011

Click here for more information

Share :

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Posts :