Abstract
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา แนวพุทธต่อความวิตกกังวลของผู้ดูแลเด็กกำพร้าและถูกทอดทิ้ง ใช้รูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดียว วัดผลเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองโดยวัดก่อนการทดลอง 1 ครั้งระหว่างการทดลอง 4 ครั้ง และหลังสิ้นสุดการทดลอง 1 ครั้ง วัดแต่ละครั้งห่างกัน 3-4 สัปดาห์ยึดหลักการพิทักษ์สิทธิ์และ ยินยอมเข้าร่วมงานวิจัยก่อนดำเนินการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างคือแม่และน้าผู้ปฏิบัติบทบาทมารดา ทดแทนในการเลี้ยงดูเด็กกำพร้าและถูกทอดทิ้งหมู่บ้านเด็กมูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย จำนวน 11 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ดำเนินการโดยให้แม่และน้าเข้าร่วมการให้ คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่มครั้งละประมาณ 3 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 5 ครั้ง เป็นระยะเวลา 14 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ การให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา แนวพุทธเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามความวิตกกังวลของสปิลเบอร์เกอร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติWilcoxonSigned-Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ย คะแนนความวิตกกังวลหลังสิ้นสุดการให้คำปรึกษาต่ำกว่าก่อนการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลหลังเข้าร่วมการให้คำปรึกษาครั้งที่ 1, 2, 3, 4, และ 5 ต่ำกว่าก่อนให้คำปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติดังนั้นการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา แนวพุทธควรได้รับการพิจารณาในการนำมาใช้เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ปฏิบัติบทบาทมารดา ทดแทนในการเลี้ยงดูเด็กกำพร้าและถูกทอดทิ้ง อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาครั้งนี้ไม่มีกลุ่มควบคุม และจำนวนตัวอย่างน้อยจึงอาจมีข้อจำกัดในการอ้างอิงผลการวิจัยในกลุ่มอื่น
Methods
สุนันทา ตั้งปนิธานดี , ชนมน เจนจิรวัฒน์, ปัญจศา ลี้ศิริสรรพ์, มินทร์ลดา เพิ่มทรัพย์ทวีผล
Journal
รามาธิบดีพยาบาลสาร
Year 2015
Click here for more information