Abstract
การศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎกระทรวงกำหนด มาตรฐานขั้นต่ำในการอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล พ.ศ. 2549 มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎกระทรวงกำหนด มาตรฐานขั้นต่ำในการอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล พ.ศ. 2549 ปัญหา อุปสรรคต่อการเลี้ยงดูเด็กของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และความต้องการบริการเกี่ยวกับการรับเด็ก เป็นบุตรบุญธรรมของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ขอรับเด็ก เป็นบุตรบุญธรรมจะต้องได้รับการอนุมัติให้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมกับกลุ่มการรับเด็ก เป็นบุตรบุญธรรมในประเทศของศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ได้แก่ เดือนตุลาคม 2558 – กันยายน 2559 ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 199 ครอบครัว ทั้งนี้ ได้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เพื่อเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยสามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการ อุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล พ.ศ.2549 อยู่ในระดับมากที่สุด มีปัญหา อุปสรรคต่อการเลี้ยงดูเด็กของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมในระดับน้อยที่สุด และผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมี ความต้องการบริการเกี่ยวกับการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมในระดับน้อย โดยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญดังนี้ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมควรมีการสนับสนุนและส่งเสริม การจัดกิจกรรมเครือข่ายครอบครัว บุญธรรมมากขึ้น และควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนกระบวนการทำงาน ช่วยเหลือครอบครัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสอดรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีประสิทธิภาพ
Methods
การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)
Author
ฐาฏญาณี นิลเกตุ
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Journal
วารสารสังคมภิวัฒน์
Year 2561
(Click here) Click here for more information