Abstract
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะพื้นอารมณ์และปัจจัยที่มีผลต่อพื้นอารมณ์ในเด็กปฐมวัย
วิธีการ : เก็บข้อมูลจากบิดามารดาและเด็กปฐมวัย (อายุ 1 – 5 ปี) จำนวน 444 ครอบครัว ด้วยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากคลินิกสุขภาพเด็กดีของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติและโรงพยาบาลปทุมธานี และจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน 6 แห่ง ในจังหวัดปทุมธานี เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเชิงปริมาณ คือ ข้อมูลพื้นฐานของเด็กปฐมวัยและครอบครัว แบบประเมินภาวะโภชนาการเด็ก แบบบันทึกการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (developmental surveillance and promotion manual: DSPM) และแบบประเมินพื้นอารมณ์เด็กปฐมวัย เครื่องมือที่เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นแนวคำถามและแบบบันทึกการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพด้วยการจัดกลุ่มหัวข้อหรือประเด็น
ผล : เด็กพื้นอารมณ์เลี้ยงง่ายร้อยละ 15.5 เด็กพื้นอารมณ์เลี้ยงยากในบางเรื่อง ร้อยละ 69.1 และเด็กพื้นอารมณ์เลี้ยงยากร้อยละ 15.3 โดยพื้นอารมณ์ด้านครอบครัวพบว่าหัวข้อการเลี้ยงดูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (M = 2.17) ครอบครัวมองว่าการเลี้ยงดูเด็กเป็นงานที่ยุ่งยาก และพื้นอารมณ์ด้านตัวเด็ก พบว่าหัวข้อลักษณะการเคลื่อนไหวมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (M = 3.40) เด็กส่วนใหญ่ชอบเล่นโดยการวิ่ง กระโดดหรือปีนป่าย รายได้ครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางลบกับค่าเฉลี่ยพื้นอารมณ์เด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Conclusions : เด็กปฐมวัยควรได้รับการคัดกรองพื้นอารมณ์ เพื่อค้นหาเด็กที่มีปัญหาพื้นอารมณ์และให้การช่วยเหลือตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
Methods
การวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ
Author
พนิดา ศิริอําาพันธ์กุล และ จุไรรัตน์ กีบาง
Journal
Journal of Mental Health of Thailand
Year 2564