รูปแบบและระบบนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ช่วยเยียวยาส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีต่อเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาเพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

Abstract

การศึกษาวิจัยเรื่อง รูปแบบและระบบนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ช่วยเยียวยาส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีต่อเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาเพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ช่วยเยียวยาส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีต่อเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาเพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ศึกษาระบบนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในสถาบันการศึกษาอันเปราะบางจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ฯที่เหมาะสม กล่าวคือ เป็นนิเวศมวลรวมผลของการทำงานระหว่าง โรงเรียน ผู้ปกครอง และภาคีที่เกี่ยวข้องจากการศึกษาวิจัย และ3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ช่วยเยียวยาส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีต่อเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาเพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ผลการศึกษาพบว่า

รูปแบบสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ช่วยเยียวยาส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีต่อเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรง ให้ครอบคลุมถึงประเด็นสำคัญ กล่าวคือ 1) การสร้างพื้นที่ปลอดภัยแก่เด็กและเยาวชนในบริเวณโรงเรียน 2) การสร้างภูมิคุ้มกันในการบริโภคสื่อข่าวสารของเด็กนักเรียน 3) การนำเสนอสื่อโดยลดความอคติและความเกลียดชัง 4) การคงอยู่ของสภาพแวดล้อมจริงที่เกิดขึ้นบริเวณโรงเรียน 5) การจัดการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ และ 6) ครูต้องเก่งในเรื่องการสื่อสารกับเด็กนักเรียน อีกทั้งระบบนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในสถาบันศึกษาจำเป็นต้องสร้างนิเวศมวลรวมผลของการทำงานระหว่าง โรงเรียน ผู้ปกครอง และภาคีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งควรครอบคลุมในประเด็นสำคัญ กล่าวคือ 1) ผู้ปกครองต้องเป็นสื่อกลางในการขับเคลื่อนชุมชน 2) การบริหารจัดการสื่อ  3) ครูในโรงเรียนต้องมีทักษะในการจัดการสื่อ 4) การมีพื้นที่กลางของสื่อ 5) การเยียวยาต้องสร้างให้เห็นเป้าหมายใหม่และท้าทาย และ 6) การดำเนินนโยบายคุ้มครองเด็ก

Methods

Qualitative study

Author

สุรชัย ไวยวรรณจิตร นักวิจัยอิสระ

สุไรยา หนิเร่ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี / ผู้บริหารโรงเรียนเร๊าะห์มานีย๊ะห์

รุ่งโรจน์ ชอบหวาน อาจารย์คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

มูฮำหมัดราพีร์ มะเก็ง นักวิจัยศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

อับดุลคอลิก อัรรอฮีมีย์ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Journal

นิเทศน์ศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์

Year: 2024 2564

Click here for more information

 

Share :

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Posts :