วัฒนธรรมการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยชนเผ่าอิ้วเมี่ยน

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวัฒนธรรมการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของชนเผ่าอิ้วเมี่ยน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน  65 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมอิ้วเมี่ยน จำนวน 20 คน และผู้ปกครองเด็กปฐมวัย จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก แบบสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยายพรรณนา

ผลวิจัยพบว่า ชนเผ่าอิ้วเมี่ยนมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและโครงสร้างทางกายภาพไปตามยุคสมัยค่อนข้างมาก ซึ่งส่งผลต่อการเตรียมตัววางแผนครอบครัว  กล่าวคือ จะแต่งงานและมีบุตร เมื่อมีความพร้อมทั้งในด้านสุขภาพร่างกายและด้านเศรษฐกิจเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากอดีตที่มีบุตรทันทีเมื่อแต่งงานและอายุยังน้อย ในการดำเนินชีวิตและการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของชนเผ่าอิ้วเมี่ยน จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน

ผู้ปกครองอิ้วเมี่ยนจะอบรมเลี้ยงดูเด็กร่วมกันโดยไม่แบ่งหน้าที่ชัดเจน ใช้รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยและการปล่อยปละละเลยในบางครอบครัว  นำองค์ความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆ เช่น จากคำสอนของผู้อาวุโส จากคำแนะนำของแพทย์ จากหนังสือ เป็นต้น ในการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ควบคู่กับการเลี้ยงดูบนพื้นฐานของวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อ ที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ มุ่งส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตมีพัฒนาการที่สมวัย เป็นคนดี และสามารถเลี้ยงดูครอบครัวเมื่อเติบโตได้

Methods

การศึกษาเชิงคุณภาพ

Author

จันทรา แซ่ลิ่ว ภาควิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Journal

วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่

Year 2561

Click here for more information

Share :

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Posts :