แรงจูงใจในการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ และผลกระทบที่เกิดขึ้น

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวลูกบนสื่อสังคมออนไลน์และผลกระทบที่เกิดขึ้น ผู้เข้าร่วมวิจัยคือผู้ปกครองจำนวน 11 คน และลูกวัยรุ่นจำนวน 12 คน ที่เป็นครอบครัวเดียวกัน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจงร่วมกับแบบลูกโซ่ของผู้ให้ข้อมูล ใช้แบบสอบถามออนไลน์และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ คือ จำนวนและร้อยละ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้กระบวนการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า ทั้งผู้ปกครองและลูกมองว่าแรงจูงใจที่ส่งผลมากที่สุด คือ เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำ
นอกจากนี้จากการสัมภาษณ์มุมมองของลูกต่อการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ พบประเด็นหลัก  4 ประเด็น ดังนี้ 1) เหตุผลในการตัดสินใจเป็นเพื่อนกับพ่อแม่บนสื่อสังคมออนไลน์ 2) ความคิดและความรู้สึกของลูกเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ พบว่าลูกรู้สึกพึงพอใจที่จะให้พ่อแม่
เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของตนเองลงบนสื่อสังคมออนไลน์ หากว่าการกระทำนั้นสร้างความสุขให้กับพ่อแม่
หรือเป็นการเผยแพร่เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำและสร้างความประทับใจ รวมถึงรู้สึกดีเมื่อพ่อแม่
ขอความยินยอมก่อนที่จะนำข้อมูลส่วนตัวลูกไปเผยแพร่ แต่ก็มักเกิดความรู้สึกเขินหรืออับอาย และมีความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวของตนเอง และ 3) การตัดสินใจเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ในอนาคต

Author Nasarapa Narmphring, ชวิศา กระท้อนกลาง, พนมพร พุ่มจันทร์, เอื้ออนุช ถนอมวงษ์ และ 

            สุชาดา สกลกิจรุ่งโรจน์

รูปแบบการวิจัย: แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก

Journal สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Year 2567

คำสำคัญ: การเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวลูก สื่อสังคมออนไลน์ ผลกระทบ แรงจูงใจ

ศึกษางานวิจัยเพิ่มเติม :https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/266050

Share :

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Posts :