Abstract
งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มึวัตถุประสงค์ในการศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินการของสถานรองรับเด็กเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตกับแนวปฏิบัติด้านการเลี้ยงดูทดแทนสำหรับเด็กแห่งสหประชาชาติ โดยได้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบกำหนดโควต้า (Quota Sampling) คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured interviews) จากผู้ดำเนินการสถานสงเคราะห์เด็กจำนวน 6 แห่ง และผู้ปกครองที่ส่งบุตรหลานเข้าสู่สถานสงเคราะห์ หรือรับบุตรหลานจากสถานสงเคราะห์เหล่านี้กลับมาอาศัยอยู่ด้วยกันจำนวน 12 คน ผลการศึกษาพบว่าสถานสงเคราะห์เด็กเอกชนมีการดำเนินการทั้งที่สอดคล้องและขัดแย้งกับแนวปฏิบัติด้านการเลี้ยงดูทดแทนสำหรับเด็กแห่งสหประชาชาติ อย่างไรก็ดี พบว่าสถานสงเคราะห์ที่มีนักสังคมสงเคราะห์มีการดำเนินการที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ ฯ ใน 4 ด้านกรอบของการศึกษานี้ ได้แก่ การคัดกรองป้องกันการเลี้ยงดูทดแทนโดยไม่จำเป็น (gatekeeping), แผนการเลี้ยงดูเด็กเป็นรายบุคคล (individual care plan), การคืนเด็กสู่ครอบครัว (family reintegration), และ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว (family strengthening) การศึกษานี้เสนอให้รัฐบาลและสถานสงเคราะห์เด็กเอกชนลดช่องว่างระหว่างการดำเนินการของสถานรองรับและแนวปฏิบัติด้านการเลี้ยงดูทดแทนสำหรับเด็กแห่งสหประชาชาติ
Methods
การวิจัยเชิงคุณภาพ
Author
กัณฐมณี ลดาพงษ์พัฒนา ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วิวัฒน์ ธนาปัญญาวรคุณ เครือข่ายการเลี้ยงดูทดแทนประเทศไทย
แอนดี้ ลิลลี่แครพ เครือข่ายการเลี้ยงดูทดแทนประเทศไทย
Journal
วารสารคุณภาพชีวิตกับกฏหมาย
Year 2565
Click here for more information