ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กจากการถูกกระทำรุนแรงในครอบครัว

Abstract

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. แนวคิดในการให้ความคุ้มครองเด็กที่ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัว  2. กฎหมายและมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวทั้งของต่างประเทศและของประเทศไทย และ 3. วิเคราะห์กฎหมายรวมถึงปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายอันจะนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยจากเอกสาร แล้วจะนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงลึกแบบเชิงเนื้อหา (Content Analysis) จากการศึกษาพบว่า 1) จากแนวคิดที่รัฐ ต้องการแทรกแซงอำนาจของสถาบันครอบครัวที่มีเหนือเด็ก ส่งผลให้เกิดการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กจากความรุนแรงในครอบครัวขึ้น 2) บทบัญญัติของกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ.2562 มีความคล้ายคลึงกันกับกฎหมายของอังกฤษที่ให้อำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชน รวมถึงเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเข้ามามีบทบาท ในการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กซึ่งตกอยู่ในภาวะอันตรายอย่างรวดเร็ว รวมถึงมีการกำหนดให้มีหน่วยงานเฉพาะ เข้ามามีบทบาทต่อการให้ความคุ้มครองช่วยเหลือเด็กที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งคล้ายกันกับ Child Protective Services ของสหรัฐอเมริกา รวมถึงมีการกำหนดให้ผู้ที่พบเห็นความรุนแรงต้องแจ้งเหตุ และ 3) แต่จากการศึกษาวิเคราะห์บทบัญญัติของกฎหมายฉบับดังกล่าวกลับพบว่า ยังไม่ครอบคลุมในทุกประเด็นของปัญหา และยังขาดความชัดเจนในหลาย ๆ เรื่อง ผู้วิจัยจึงเห็นควรเสนอแนะ ให้แก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการเพิ่มเติม ความผิดฐานก่อความรุนแรงในครอบครัว กับให้ยกเลิกบทบัญญัติของกฎหมายบางฉบับที่มีความซ้ำซ้อน ตลอดจนกำหนดโทษในทางอาญาสำหรับผู้ที่พบเห็นความรุนแรงต่อเด็กแล้วไม่แจ้ง รวมถึงมุ่งเน้นในการสร้างหน่วยงานและบุคลากรให้มีความพร้อมสูงสุดเพื่อรองรับกับปัญหาในเรื่องของการกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวต่อเด็ก

Methods

การวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

Author

อมรเทพ เมืองแสนอาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Journal

วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

Year: 2024 2563

Click here for more information

Share :

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Posts :