ผลของโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องการเล่านิทาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กปฐมวัยต่อความรู้ และพฤติกรรมการเล่านิทานของผู้ดูแลเด็กที่มารับบริการ ที่คลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

Abstract

พัฒนาการด้านภาษา เป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านการเรียนรู้ทางสติปัญญา อารมณ์และสังคม การเล่านิทานเป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาเด็กทุกช่วงวัย พบว่าการเล่านิทานอย่างมีคุณภาพของผู้ดูแลเด็กยังไม่มากพอ วิจัยเชิงปฏิบัติการนี้เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องการเล่านิทานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กปฐมวัยต่อความรู้และพฤติกรรมการเล่านิทานของผู้ดูแลเด็กที่มารับบริการที่คลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลเด็กอายุ 4เดือน จำนวน 30 ราย ผู้ดูแลเด็กจะได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม 3 ครั้ง ในช่วงเด็กในการดูแลอายุ 4,6,9 เดือน โดยผู้ดูแลเด็กจะได้รับความรู้ในโรงเรียนพ่อแม่ตามช่วงวัย และความรู้ตามโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องการเล่านิทานที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น รวมทั้งสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครอบครัว
เก็บข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้และแบบประเมินพฤติกรรมการเล่านิทานก่อนและหลังเข้าโปรแกรมฯ และตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กด้วยเครื่องมือมาตรฐานการตรวจคัดกรองพัฒนาการ DSPM ช่วงวัย 9 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนและสถิติ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่าผู้ดูแลเด็กมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากการทดสอบทั้ง 2 ครั้ง คือทดสอบทันที (Mean± SD = 7.43 ± 1.07 VS5.70 ± 1.44) และระยะห่าง 2 เดือน(Mean ± SD = 7.46 ± 1.89 VS 5.70 ±1.44 ) โดยมีค่า P <0.001 และมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการเล่านิทานเพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean ± SD = 18.03 ± 5.12 VS 9.83 ± 7.56) โดยมีค่า P < 0.001 เด็กปฐมวัยที่ผู้ดูแลเด็กเข้าร่วมโปรแกรมฯ มีพัฒนาการด้านภาษาสมวัยทุกราย (ร้อยละ100) โดยมีพัฒนาการสมวัยในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 83.3 มีพัฒนาการมากกว่าช่วงวัยร้อยละ 16.7
ดังนั้นโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องการเล่านิทานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา ทำให้ผู้ดูแลเด็กมีความรู้และพฤติกรรมปฏิบัติในการเล่านิทานเพิ่มขึ้นและเด็กมีพัฒนาการด้านภาษาสมวัย จึงควรนำโปรแกรมฯ ไปใช้ในคลินิกตรวจสุขภาพเด็กดีและขยายผลในเด็กทุกช่วงวัยตามความเหมาะสม

Methods

การศึกษาเชิงปฎิบัติการ  (Action Research)

Author

กฤษดา เอื้ออภิศักดิ์ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

Journal

วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

Year 2564

ลิงก์เพื่อดูข้อเพิ่มเติม

Share :

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Posts :