ความรอบรู้สุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ของผู้เลี้ยงดูเด็ก เขตสุขภาพที่ 7

Abstract

การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดูเด็ก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เลี้ยงดูหลักเด็กอายุ 0-5 ปี จำนวน 339 คน ในจังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ ช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2563 ได้จากการสุ่มแบบต่อเนื่อง (consecutive sampling) ตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความตรงตามเนื้อหาทั้งฉบับ 0.97 ค่าความเชื่อมั่น 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า ปู่ย่าตายายเป็นผู้เลี้ยงดู ร้อยละ 56.7 มีความรอบรู้สุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยระดับพอใช้และต้องปรับปรุง ร้อยละ 49.6 โดยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับต่ำด้านความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ร้อยละ 94.4 และด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง ร้อยละ 49.6 จากผลวิจัยบ่งชี้ว่าเด็กปฐมวัยไม่ได้รับการดูแลจากบิดามารดา โดยครึ่งหนึ่งมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยระดับไม่เพียงพอ จึงควรสร้างงานในชุมชน และสนับสนุนเงินอุดหนุนในการเลี้ยงดูเพื่อให้เด็กได้อยู่กับบิดามารดา เน้นสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้เลี้ยงดูเด็กเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องในการเลี้ยงดูครอบคลุมทั้งประเด็นการกิน การกอด การเล่น การเล่านิทาน การนอน การดูแลฟัน การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย การควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กที่เหมาะสม

Keywords ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย, เขตสุขภาพที่ 7

Author ธิโสภิญ ทองไทย สุพัตรา บุญเจียม ปิยะ ปุริโส นิตยา ศรีมานนท์ ลัดดา ดีอันกอง 

Methods: Quantitative research

Journal ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

YEAR: 2566

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่..https://thaidj.org/index.php/tjha/issue/view/1022

Share :

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Posts :