บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรุนแรงในครอบครัว เพื่อศึกษาปัญหาของความรุนแรงในครอบครัว และเพื่อศึกษากระบวนการลดความก้าวร้าวของเด็กใน 3 จังหวัดภาคใต้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างทำการคัดเลือกแบบเจาะจงที่เป็นเยาวชนจากสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ที่เป็นสมาชิกครอบครัวในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลานราธิวาส และที่สมัครใจให้ข้อมูล จำนวน 392 ครัวเรือน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และผู้ปกครองจำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความรุนแรงในครอบครัวที่มีผลต่อความก้าวร้าวของเด็กใน 3 จังหวัดภาคใต้ พบว่า ด้านร่างกายและวาจา อยู่ในระดับน้อย ส่วนด้านสังคมอยู่ระดับปานกลาง 2) ปัญหาของความรุนแรงในครอบครัวที่มีผลต่อความก้าวร้าวของเด็กใน 3 จังหวัดภาคใต้ ผู้ให้ข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า (1) ความรุนแรงทางด้านวาจา สมาชิกในครอบครัวมักพูดจาให้เด็กน้อยใจหรืออาจจะเป็นพ่อแม่เองที่พูดคำไม่สุภาพในบ้านหรือกับคนที่สนิท เมื่อเด็กได้รับฟังจึงเป็นพฤติกรรมเลี่ยนแบบแสดงออกทางวาจาที่ก้าวร้าวต่อผู้อื่น (2) ความรุนแรงทางด้านร่างกาย ผู้ให้ข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า เมื่อเด็กถูกทำโทษทันทีโดยไม่ฟังเหตุผล เด็กจะมีพฤติกรรมไปในทางที่ก้าวร้าว และแสดงพฤติกรรมที่ไม่สุภาพออกมา (3) ด้านความรุนแรงทางด้านสังคม ผู้ให้ข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า ความรุนแรงขึ้นในสังคม เกิดจากสมาชิกในครอบครัวที่มีความเห็นไม่ตรงกันและเกิดผลกระทบตามมา 3) กระบวนการลดความก้าวร้าวของเด็กใน 3 จังหวัดภาคใต้ มีข้อเสนอดังนี้ (1) ความรุนแรงทางด้านวาจา พ่อแม่หรือสมาชิกในครอบครัวต้องระวังการพูดจาไม่เหมาะสมพูดจาให้เด็กน้อยใจ (2) ความรุนแรงทางด้านร่างกาย สมาชิกในครอบครัวควรให้ความใกล้ชิด ดูแลเอาใจใส่และอบรมสั่งสอนเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกเด็กอยู่เสมอ (3) ความรุนแรงทางด้านสังคม ควรปลูกฝังความรักและความเข้าใจกันในครอบครัว พูดจากันด้วยเหตุผล เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
วิธีวิจัย
วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
ผู้แต่ง
ชื่อวารสาร
วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
ปี: 2565