ผู้แต่ง
ศศิวรรณ มุสิก
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
นัฎจรี เจริญสุข
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ชูศักดิ์ เอกเพชร
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวินัยเชิงบวก 2) สร้างและพัฒนาคู่มือในการสร้างวินัยเชิงบวก 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของคู่มือในการสร้างวินัยเชิงบวกของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเวียงสระ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน 1) ศึกษาสภาพการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวินัยเชิงบวกของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่าง 310 คน 2) สร้างและพัฒนาคู่มือในการสร้างวินัยเชิงบวกของผู้ปกครอง 3) ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ของคู่มือในการสร้างวินัยเชิงบวกของผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การใช้คู่มือ และแบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
สภาพการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวินัยเชิงบวกของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเวียงสระ โดยศึกษาจากสภาพการเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครอง ทั้งในด้านพฤติกรรมเชิงบวกและพฤติกรรมเชิงลบ ผลที่ได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก
คู่มือในการสร้างวินัยเชิงบวกของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเวียงสระ ประกอบด้วยเนื้อหา 4 ส่วน ดังนี้ 1) บทนำ 2) การสร้างวินัย 3) วินัยเชิงบวก 4) สื่อเพิ่มเติมผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์ของคู่มือในการสร้างวินัยเชิงบวกของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเวียงสระ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับ คือ ด้านความมีประโยชน์ ด้านเป็นไปได้ และด้านความเหมาะสม และผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจหลังการใช้คู่มือเพิ่มมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
วิธีวิจัย:
การวิจัยเชิงปริมาณ
วารสาร:
สารสารปัญญา
ปี: 2023
ลิงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม:https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/264254