การพัฒนาโปรแกรมTriple P เพื่อกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัยเขตสุขภาพที่7

บทคัดย่อ

การสร้างวินัยเชิงบวก เป็นการสร้างความผูกพันระหว่างผู้ดูแลและเด็ก มีความสำคัญต่อพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจของเด็ก โดยพบว่า ระดับสติปัญญา และความสามารถในการอยู่ในสังคม มีความสัมพันธ์กับความผูกพันทางอารมณ์ที่มั่นคงระหว่างมารดากับเด็ก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมด้วยโปรแกรม Triple-P (โปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วม DSPM Family Preschool Parenting Program) ที่มีต่อความผูกพันทางอารมณ์ระหว่างเด็กและผู้เลี้ยงดูหลักที่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน  20 คู่ เด็ก – ผู้เลี้ยงดูหลัก โดยแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 10 คู่ กลุ่มควบคุม 10 คู่ โดยที่กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรม Triple-Pจำนวน 4 ครั้ง ครั้งละ60 นาที แต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ รวม 4 กิจกรรม ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลด้วยรูปแบบที่มีอยู่เดิม โดยประเมินซ้ำเมื่อจบโปรแกรมภายใน 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Independent t-test

ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีระดับความถี่ในการสร้างวินัยเชิงบวก สูงกว่า กลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05 ) จากผลการศึกษาครั้งนี้ใช้ให้เห็นว่าผู้เกี่ยวข้องควรนำกิจกรรม Triple-P ไปดำเนินการเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะให้กับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ขยายผลสู่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเลี้ยงดูเด็ก ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ต่อไป

วิธีวิจัย

การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design) ชนิด Non-Equivalent Control Group Pretest – Postest Design

ผู้แต่ง

ลักษณา สกุลทอง
ศริญทิพย์ ชาลีเครือ

ชื่อวารสาร

วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กรมอนามัย กระทรวงสาะารณสุข

ปี: 2022

ลิงก์เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

แชร์โพสนี้ :

Facebook
Twitter
LinkedIn

โพสที่เกี่ยวข้อง :