บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาการเผชิญปัญหา การแก้ปัญหาและสุขภาพจิตของ ผู้สูงอายุในการเลี้ยงดูเด็ก เขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ซึ่งใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological research) ผ่านประสบการณ์จากผู้สูงวัยในการเลี้ยงดูเด็ก จำนวน 8 คน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง โดยผู้สูงวัยยินดีและยินยอมที่จะให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth Interview) ร่วมกับการสังเกตพฤติกรรมของผู้ให้ข้อมูลเพื่อประกอบวิเคราะห์ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสกัดข้อมูล ผลจากการศึกษาพบว่า การเลี้ยงดูหลานผู้สูงอายุไม่ได้มองว่าเป็นภาระแต่มีความสุขและยินดีที่จะเลี้ยงดูเพราะผู้สูงอายุมีความเชื่อมั่นว่าสามารถเลี้ยงหลานได้ดีกว่าคนอื่น ปัญหาที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญในการเลี้ยงหลานคือ ปัญหาสุขภาพ ส่วนใหญ่มีอาการปวดข้อเข่าและปวดหลัง ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่พบคือมีรายรับกับรายจ่ายไม่สอดคล้องกันเนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่มาจากพ่อแม่ของเด็กที่มีรายได้ไม่สูงมากนักปัญหาการอบรมเลี้ยงดู พบว่าเด็กเล็กมีอาการเจ็บป่วยบ่อย ทานข้าวได้น้อย ไม่ค่อยนอน ซึ่งวิธีการที่ผู้สูงอายุใช้ในเผชิญปัญหาคือการจัดการกับอารมณ์ของตนเองโดยการควบคุมและหลีกหนีสถานการณ์นั้นก่อนแล้วจึงหาทางแก้ปัญหาที่ต้องเผชิญ และส่วนใหญ่สุขภาพจิตของผู้สูงวัยยังปกติ ไม่มีภาวะความเครียดสูง โดยพบว่าปัญหาที่ สัมพันธ์กับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ คือ ปัญหาสุขภาพและปัญหาเศรษฐกิจ
วิธีวิจัย การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research)
ผู้แต่ง บุญส่ง คงแสนคำ, โชติกา ธรรมวิเศษ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ชื่อวารสาร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ปี: 2019 ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (2019): มกราคม – เมษายน 2562 (January – April 2019)
ลิงก์เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmuj/article/view/249721