การศึกษาพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในครอบครัวข้ามรุ่น ในจังหวัดมหาสารคาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในครอบครัวข้ามรุ่นใน จังหวัดมหาสารคามในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยเลือกครอบครัวเด็กปฐมวัยที่เป็นครอบครัวข้ามรุ่น จำนวน 5 ครอบครัวที่พ่อแม่ย้ายถิ่นฐานไปทำงานในเมืองใหญ่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ร่วมกับการสังเกตวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)

ผลการศึกษา พบว่าตายาย ส่วนใหญ่เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยด้วยความรักความเอาใจใส่ บางครอบครัวเลี้ยงเชิงควบคุม ส่วนใหญ่ตายายจัดเตรียมอาหารที่มีประโยชน์ให้แก่เด็ก ดูแลสุขภาพอนามัยเด็กและพาไปพบแพทย์ตามความเหมาะสม ด้านอารมณ์พบว่าเด็กมีความร่าเริงแจ่มใสเมื่อตายายตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานแก่เด็กและเมื่อตายายมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม ตายายส่งเสริมทักษะทางสังคมแก่เด็กโดยการสอนให้เด็กรู้จักบุคคลและสิ่งต่างๆรอบตัว พาเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ตลอดจนส่งเสริมให้เด็กมีส่วนร่วมในพิธีกรรมทางศาสนา ปลูกฝังให้เด็กมีความประพฤติดี มีคุณธรรม จริยธรรม ด้านสติปัญญาพบว่าตายายส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาให้เด็กผ่านการเรียนรู้ในกิจวัตรประจำวัน ผ่านการเล่น และสนับสนุนเด็กด้านการเรียน โดยได้นำประสบการณ์ที่เคยเลี้ยงดูลูกของตนมาเลี้ยงดูเด็ก การอบรมเลี้ยงดูเป็นไปตามลำดับขั้นตอนของแต่ละช่วงวัย โดยให้เด็กได้รับการพัฒนาไปตามธรรมชาติของเด็กแบบองค์รวม โดยดูตามความเหมาะสม ความพร้อมของเด็กและความสามารถของครอบครัวในการจัดเตรียมสิ่งจำเป็นให้แก่เด็ก

วิธีวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ร่วมกับการสังเกตวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)

ผู้แต่ง

วิลาวรรณ วาทโยธา สาขาวิชาปฐมวัยศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ชลาธิป สมาหิโต ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ชื่อวารสาร

วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์

ปี: 2562

ลิงก์เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

แชร์โพสนี้ :

Facebook
Twitter
LinkedIn

โพสที่เกี่ยวข้อง :