บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาระดับการเล่นและอำนาจการทำนายของการเล่นแบบมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กโดยไม่ใช้ สื่ออิเลคทรอนิคที่มีผลต่อพัฒนาการที่เหมาะสม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลเด็กอายุ 3-5 ปี จำนวน 100 คน ที่มีบุตรเรียนอยู่ใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนในสังกัด กทม. เขตดุสิต คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย และตามเกณฑ์คัดเข้า เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามส่วนบุคคล แบบสอบถามการเล่นแบบมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กโดยไม่ใช้สื่ออิเลคทรอนิค ผ่านการตรวจสอบ ความเที่ยง มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.9 และแบบประเมินพัฒนาการเด็กอายุ 3-5 ปี จากคู่มือเฝ้าระวัง และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของกระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และสถิติความถดถอยโลจิสติกส์ทวิ แบบสเต็ปไวซ์ วอลด์-แบคเวอด (Stepwise Wald-Backward Binary Logistics Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่าการเล่นแบบมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กโดยไม่ใช้สื่ออิเลคทรอนิคโดยรวมอยู่ในระดับสูง และพบว่า การเล่นเกี่ยวกับการทำกิจวัตรประจำวัน การเล่นเกี่ยวกับมารยาทการเข้าสังคม และการเล่นแบบมีกฎกติกา สามารถร่วมทำนาย พัฒนาการเด็กได้ร้อยละ 23.4 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจัยเสนอแนะว่า ควรมีการพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมการเล่น ในครอบครัวโดยไม่ใช้สื่ออิเลคทรอนิคเกี่ยวกับการทำกิจวัตรประจำวัน มารยาทการเข้าสังคม และการเล่นแบบมีกฎกติกา
คำสำคัญ: การเล่นแบบมีส่วนร่วม, การเล่นแบบไม่ใช้สื่ออิเลคทรอนิค, พัฒนาการเด็ก, เด็กวัยก่อนเรียน
ผู้แต่ง อรเพ็ญ พงศ์กล่ำ จิราวรรณ กล่อมเมฆ พรรณี ปรรคลักษ์ วรวลัญช์ บรรลือทรัพย์
วิธีการ: การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย
วารสาร: พยาบาลทหารบก
ปี : 2022
ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมที่นี้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/242086