ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมแนะนำวิธีการเลี้ยงลูกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: การศึกษาแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์

ผู้แต่ง

นิธิชญา ใจเย็น

Faculty of Arts, Chulalongkorn University

ศิริพร ภักดีผาสุข

Faculty of Arts, Chulalongkorn University

บทคัดย่อ:
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมแนะนำวิธีการเลี้ยงลูกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยเก็บข้อมูลจากเพจเฟซบุ๊กที่ได้รับความนิยมสูงสุด 3 อันดับแรก ตั้งแต่ มีนาคม พ.ศ. 2558 – ธันวาคม พ.ศ. 2560 รวม 254 บทความ ใช้กรอบแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ ผลการวิจัยพบว่า ตัวบทนำเสนออุดมการณ์การเลี้ยงลูก “เชิงบวก” 3 ประการ คือ 1) การเลี้ยงลูกตามแบบเดิมในสังคมไทยซึ่งเน้นการใช้อำนาจของพ่อแม่เป็นการเลี้ยงลูก “เชิงลบ” 2) การเลี้ยงลูกตามหลักวิชาซึ่งเน้นการเคารพสิทธิ์ของลูกเป็นการเลี้ยงลูก “เชิงบวก” และมีประสิทธิภาพมากกว่า และ 3) พ่อแม่ที่พึงประสงค์ควรเลี้ยงลูก “เชิงบวก” โดยหันมาพึ่งพาความรู้ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กลวิธีทางภาษาที่ใช้ถ่ายทอดอุดมการณ์การเลี้ยงลูก “เชิงบวก” มี 5 กลวิธี ได้แก่ การเลือกใช้คำศัพท์ การใช้ประโยค การกล่าวซ้ำ การใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ และการใช้สหบท ส่วนปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับการผลิตและบริโภคตัวบท ได้แก่ แนวคิดเรื่องการเลี้ยงลูกเชิงบวกในสังคมตะวันตก แนวคิดเรื่องการเลี้ยงลูกในสังคมไทย สภาพครอบครัวเดี่ยวในสังคมไทย ผลการศึกษานี้ทำให้เห็นว่า วาทกรรมของกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมีการอ้าง “ความรู้และหลักวิชา” ในการนิยามแนวทางการเลี้ยงลูก “ที่พึงประสงค์” ซึ่งอาจจะมีผลต่อความคิดและพฤติกรรมของผู้รับสารในสังคมไทยให้มีแนวโน้มเป็นแบบสังคมตะวันตกมากขึ้น

วิธีวิจัย: การวิเคราะห์เชิงวิพากย์

วารสาร : Journal of Art and Thai Studies

ปี: 2022

ลิงค์เพื่อศึกษเพิ่มเติม: https://so08.tci-thaijo.org/index.php/artssu/article/view/249

แชร์โพสนี้ :

Facebook
Twitter
LinkedIn

โพสที่เกี่ยวข้อง :