บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ปัญหาพฤติกรรมในเด็กเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและส่งผลต่อเนื่องระยะยาวต่อเด็กได้ งานวิจัยนี้มีเป้าหมายศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเลี้ยงดูกับปัญหาพฤติกรรมในเด็ก
วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง มีการเก็บข้อมูลจากผู้ปกครองของเด็กอายุ 3 -15 ปีที่มารับการรักษาในวชิรพยาบาลด้วยแบบสอบถามรูปแบบการเลี้ยงดู (parenting style questionnaire) และแบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน (SDQ) ฉบับผู้ปกครอง วิเคราะห์หาความชุกและความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเลี้ยงดูกับปัญหาพฤติกรรมในเด็กด้วยวิธี multiple linear regression
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างจําานวน 198 คน ผู้ปกครองเป็นเพศชายร้อยละ 52 อายุเฉลี่ย 38.45 ± 11.6 ปี เด็กเป็นเพศชายร้อยละ 55.6 อายุเฉลี่ย 8.19 ± 2.72 ปี ความชุกของรูปแบบการเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ แบบตามใจ และแบบควบคุมพบร้อยละ 59.6 23.2 และ 17.2 ตามลําาดับ ค่าคะแนนพฤติกรรมโดยรวมแยกตามรูปแบบการเลี้ยงดูมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติ (p-value = 0.034) ปัจจัยที่มีผลได้แก่ ลักษณะพื้นอารมณ์แบบเลี้ยงยากหรือปรับตัวช้า (β = 0.196, t = 2.805, p-value = 0.006) ลําาดับที่ของบุตร (β = -0.145, t = -2.052, p-value = 0.041) และลักษณะการเลี้ยงดูแบบควบคุม (β = -0.149, t = -2.106, p-value = 0.036) เมื่อวิเคราะห์โดยควบคุมปัจจัยร่วมยังคงพบความสัมพันธ์ที่มีนัยสําาคัญทางสถิติในเรื่อง ลักษณะพื้นอารมณ์แบบเลี้ยงยากหรือปรับตัวช้า (β = 0.20, 95% CI = 0.96,3.62, p-value = 0.004) และลําาดับที่ของบุตร (β = -0.15, 95% CI= -1.84,-0.06, p-value = 0.037)
สรุป: ลักษณะรูปแบบการเลี้ยงดูแต่ละแบบจะมีค่าคะแนนพฤติกรรมโดยรวมของเด็กที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่มีผลต่อความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ คือ ลักษณะพื้นอารมณ์ของเด็กและลำดับที่ของบุตร
วิธีวิจัย
เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง (cross-sectional study)
ผู้แต่ง
ศุภณัฐ เจริญจิตต์
ดุษฎี เงินหลั่งทวี
ชื่อวารสาร
วชิรเวชสาร
ปี: 2021