ผู้แต่ง:
สิรินรัตน์ แสงศิริรักษ์
กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
เอกลักษณ์ แสงศิริรักษ์
กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา (IQ) พบว่าระดับสติปัญญาเฉลี่ยทั้งประเทศ อยู่ที่ 98.2 แยกตามเขตสุขภาพ พบว่าเขตสุภาพที่ 9 ซึ่งได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ มีค่าเฉลี่ยระดับสติปัญญาที่ 96.6 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเขตสุขภาพที่ 9 ได้จัดทำโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต มีกรอบแนวคิดในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน (Family and Community-based)
วัตถุประสงค์: ศึกษาประสิทธิภาพของโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิตต่อพัฒนาการของเด็ก กลุ่มศึกษา: เด็กทารกที่คลอดจากมารดาตั้งครรภ์ที่เข้าโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต ตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2562 ในเขตรับผิดชอบคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 55 คน
สถานที่ศึกษา: คลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา: Non-randomized intervention study.
ผลการศึกษา: หญิงตั้งครรภ์กลุ่มที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต กลุ่มละ 55 คน โดยกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการมีอายุเฉลี่ย 27.6(±6.5) ปี กลุ่มที่ไม่เข้าร่วมโครงการมีอายุเฉลี่ย 28.5(±6.8) ปี (p=0.48) อายุครรภ์เฉลี่ยก่อนคลอดครบกำหนดทั้ง 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการมีอายุครรภ์เฉลี่ย 38.5 สัปดาห์ และกลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการมีอายุครรภ์เฉลี่ย 37.4 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังพบว่าหญิงตั้งครรภ์ในการศึกษานี้ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะครรภ์เสี่ยง (ร้อยละ 87.4) และครรภ์เสี่ยงที่พบมากที่สุด ได้แก่ ตั้งครรภ์วัยรุ่น ทารกโตช้าในครรภ์ เบาหวาน และซีด ตามลำดับ เมื่อศึกษาติดตามเด็กทารกที่คลอดจากครรภ์มารดาทั้งสองกลุ่มพบว่า ทารกที่มารดาเข้าร่วม โครงการมีพัฒนาการสมวัยมากกว่าทารกที่มารดาไม่ได้เข้าร่วมโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ ที่ช่วงอายุ 9 เดือน (p=0.001) และ 18 เดือน (p=0.003) เมื่อคุม confounding by indication และ confounding by indication โดยใช้ค่าคะแนนความโน้มเอียง (propensity score) และวิเคราะห์โดยใช้สถิติถดถอย (logistic regression) พบว่าทารกที่เกิดจากมารดาที่เข้าร่วมโครงการมีพัฒนาการที่อายุ 9 เดือน สมวัยมากกว่าทารกกลุ่มที่มารดาไม่ได้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 32.6 อย่างมีนัยสำคัญที่ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 14.5-51.2 (p=0.001) นอกจากนี้ยังพบว่าการเข้าร่วมโครงการสัมพันธ์กับการที่สามีช่วยเลี้ยงดูลูก (p=0.00) การที่ทารกได้กินนมแม่จนครบ 6 เดือน (p=0.00) การได้รับยา Triferdine (p=0.06) และทารกที่มารดาเข้าร่วมโครงการมีน้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ย 3066.4(±292.7) กรัม มากกว่าทารกที่คลอดกลุ่มที่มารดาไม่ได้เข้าโครงการซึ่งมีน้ำหนักแรกคลอดเฉลี่ย 2896.7(±263.9) กรัม (p=0.00) สรุป: ทารกที่เกิดจากมารดาที่เข้าร่วมโครงการมีพัฒนาการที่อายุ 9 เดือนสมวัย มากกว่าทารกกลุ่มที่มารดาไม่ได้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 32.6 อย่างมีนัยสำคัญที่ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 14.5-51.2 (p=0.001) ที่อายุ 18 เดือนสมวัยมากกว่าทารกกลุ่มที่มารดาไม่ได้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 23.4 (Coefficient 0.234)อย่างมีนัยสำคัญที่ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 8.0-38.8 (p=0.003)
วิธีวิจัย:
Non-randomized intervention study.
วารสาร:
วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์
ปี: 2020
ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/241307