ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมวินัยเชิงบวกในผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียน

บทคัดย่อ

บทนำ: การสร้างเสริมวินัยเชิงบวกในผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียนเป็นรูปแบบหนึ่งในการการพัฒนาทักษะสมองที่ดีในการจัดการชีวิตให้สำเร็จ เพื่อเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น วัตถุประสงค์การวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างเสริมวินัยเชิงบวกของผู้แลเด็กวัยก่อนเรียน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวกับการสร้างเสริมวินัยเชิงบวกในผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียน ระเบียบวิธีวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียนที่กำลังศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 แห่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 85 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามจำนวน 5 ชุด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สันและสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่าผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียนมีการสร้างเสริมวินัยเชิงบวก (“X” ̅= 58.76, SD = 6.28) และการรับรู้อุปสรรคของการสร้างเสริมวินัยเชิงบวก (“X” ̅=14.29, SD = 6.36) อยู่ในระดับปานกลาง แต่การรับรู้ประโยชน์ของการสร้างเสริมวินัยเชิงบวก (“X” ̅ = 23.26, SD = 3.12) และการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวในการสร้างเสริมวินัยเชิงบวก (“X” ̅= 27.45, SD = 6.80) อยู่ในระดับสูง การรับรู้ประโยชน์และการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวในการสร้างเสริมวินัยเชิงบวกในผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการสร้างเสริมวินัยเชิงบวกในผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียน (r = .36, p < .05 และ r = .26, p < .05 ตามลำดับ) แต่การรับรู้อุปสรรคของการสร้างเสริมวินัยเชิงบวกในผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียนมีความสัมพันธ์ทางลบกับการสร้างเสริมวินัยเชิงบวกในผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียน (r = -.23, p < .05) สรุปผล:การรับรู้ประโยชน์และการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกแต่การรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบ และเป็นปัจจัยในการสร้างเสริมวินัยเชิงบวกในผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียน ข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับพยาบาลที่ดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยก่อนเรียน รวมถึงลดปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการเลี้ยงดูได้

วิธีวิจัย
การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์

ผู้แต่ง

มัทรี คอดริงตัน

สาขาการพยาบาลเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จุฑามาศ โชติบาง

สาขาวิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อัจฉราพร ศรีภูษณาพรรณ

สาขาวิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วารสาร

วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (Journal of Health and Nursing Research)

ปี: 2021

ลิงค์เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

แชร์โพสนี้ :

Facebook
Twitter
LinkedIn

โพสที่เกี่ยวข้อง :