ผู้แต่ง
นัชชิมา บาเกาะ
สาขาวิชาการวัดและประเมินผล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮีย์
ภาควิชาอิสลามศึกษา คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รุสนี ปาเซเลาะ
สมาคมสร้างสรรค์เยาวชนชายแดนใต้
ฝ้ายลิกา ยาแดง
สมาคมสร้างสรรค์เยาวชนชายแดนใต้
อิลฮัม หะยีมะสาและ
ภาควิชาอิสลามศึกษา คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้หนังสือนิทานจ๊ะเอ๋ (ฉบับยาวี-ไทย) และผลที่มีต่อความสัมพันธ์ของครอบครัวและพัฒนาการของบุตรในครอบครัวมุสลิม การศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณโดยการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างสุขภาวะแม่รุ่นใหม่ยุค Thailand 4.0 จำนวน 205 คน จาก 4 ตำบลที่ทำการสุ่มอย่างง่ายจาก 9 ตำบลในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การศึกษาพบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่ใช้เวลาในการอ่านหนังสือนิทานในช่วงค่ำก่อนนอนหรือหลังเสร็จกิจกรรมต่างๆ และสาเหตุสูงสุดที่เลือกอ่านหนังสือเพราะออกแบบได้น่าอ่าน รูปภาพสวยงาม และน่าสนใจ โดยอุปสรรคและข้อจำกัดในการใช้หนังสือมากที่สุด คือ การไม่มีเวลา และไม่มีหนังสือให้อ่าน หลังจากได้รับหนังสือนิทานจ๊ะเอ๋ผู้ปกครองมีการเล่นจ๊ะเอ๋กับลูก กอดลูก บอกรักลูกทุกวันเพิ่มขึ้นจากเดิม และไม่มีผู้ปกครองท่านใดที่ไม่เล่นกับลูก ไม่กอดลูก บอกรักลูกหลังจากได้รับหนังสือ การใช้หนังสือนิทานจ๊ะเอ๋มีผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสามารถเรียงลำดับตามระดับคะแนนสูงสุด 3 อันดับ คือ 1) หนังสือช่วยให้ผู้ปกครองใช้เวลากับลูกมากยิ่งขึ้น 2) หนังสือช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกที่ถูกต้อง 3) หนังสือช่วยให้ผู้ปกครองต้องการพัฒนาตนเองด้านการดูแลลูก ในส่วนผลต่อพัฒนาการของบุตรโดยเรียงลำดับตามระดับคะแนนสูงสุด 3 อันดับ คือ 1) เมื่อกอดหรือเล่นกับลูกเขาจะสดใสและมีความสุข 2) ลูกมีอารมณ์ดีและมีนิสัยร่าเริง 3) เมื่อคุยกับลูกเขาสามารถจ้องตาและมองหน้าผู้ปกครองได้นาน
วิธีวิจัย:
Quantitative research
วารสาร: Journal of Information and Learning [JIL]
ปี: 2021
ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/247380