พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดู ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง:

สุพัตรา บุญเจียม

บทคัดย่อ:

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์พฤติกรรม การเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดู ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยศึกษาปัจจัยด้านลักษณะทางสังคม ประชากรของผู้เลี้ยงดู และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะทางสังคมประชากรของ ผู้เลี้ยงดูกับพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดูด้วยการสัมภาษณ์ผู้เลี้ยงดูเด็ก จำนวน 584 คน โดยใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดู วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ (Multiple Logistic Regression) ผลการวิจัยพบว่า ผู้เลี้ยงดูส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 93.3 อายุเฉลี่ย 40.4 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) 13.8) อายุน้อยที่สุด 16 ปี และมากที่สุด 74 ปี พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็ก อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.0 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การเลี้ยงดูเด็กของผู้เลี้ยงดู มี 2 ปัจจัยคือ 1) การอาศัยอยู่กับบิดามารดาของเด็ก (AOR = 2.0; 95%CI: 1.26 to 3.24; p-value 0.003) 2) ครอบครัวขยาย (AOR = 1.7; 95%CI: 1.11 to 2.78; p-value 0.043) ดังนั้นการสร้างเสริมให้ผู้เลี้ยงดูมีพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่เหมาะสมต้องส่งเสริม ให้ครอบครัวได้อยู่ร่วมกัน เด็กได้อยู่กับบิดามารดา จะสามารถสร้างพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กที่เหมาะสมแก่ผู้เลี้ยงดูได้

วิธีวิจัย:

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Analytical Study)

วารสาร: วารสารศูนย์อานามัยที่ 7 ขอนแก่น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

ปี: 2021

ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johpc7/article/view/251219

แชร์โพสนี้ :

Facebook
Twitter
LinkedIn

โพสที่เกี่ยวข้อง :