บทคัดย่อ
เพื่อศึกษารูปแบบการเลี้ยงดูตามการรับรู้ของผู้ต้องขังเยาวชนและครอบครัว และเปรียบเทียบรูปแบบการเลี้ยงดูตามการรับรู้ของผู้ต้องขังเยาวชนและครอบครัว อำเภอแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 86 คน และครอบครัว เลือกตัวอย่างแบบสุ่มไม่แทนที่ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการเลี้ยงดู
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความแตกต่างด้วยการทดสอบไคร์สแควร์แบบเปรียบเทียบผลการวิจัย: ผู้ต้องขังเยาวชนรับรู้ว่าตนเองได้รับการเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่มากที่สุด ร้อยละ 79.07 รองลงมา คือ ได้รับการเลี้ยงดูแบบควบคุม/ตามใจ/ทอดทิ้ง ร้อยละ 19.77 ในขณะที่ครอบครัวของผู้ต้องขังเยาวชนรับรู้ว่าตนเองเลี้ยงดูลูกแบบเอาใจใส่มากที่สุด ร้อยละ 94.18 รองลงมา คือ แบบควบคุม/ตามใจ/ทอดทิ้ง ร้อยละ 3.49 เมื่อเปรียบเทียบรูปแบบการเลี้ยงดูตามการรับรู้ของผู้ต้องขังเยาวชนและครอบครัว พบว่า ผู้ต้องขังเยาวชนและครอบครัวมีการรับรู้ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
ผลการวิจัยสรุปว่า การรับรู้รูปแบบการเลี้ยงดูของผู้ต้องขังเยาวชนและครอบครัวมีความแตกต่างกัน ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรหากลยุทธและพัฒนาโปรแกรมที่ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ต้องขังเยาวชนและครอบครัว เพื่อส่งเสริมความผูกพัน ความเข้มแข็งในครอบครัวและการกระทำผิดซ้ำ
ผู้แต่ง: รุ่งฤดี วงค์ชุม, กัญญาพัชญ์ จาอ้าย, ชัชฎาภรณ์ นันทขว้าง, เยาวณา เชื้อเมืองพาน
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปริมาณ
วารสาร: วารสารพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปี: 2564
คำสำคัญ: ครอบครัว, ผู้ต้องขัง, รูปแบบการเลี้ยงดู, เยาวชนและครอบครัว
ศึกษางานวิจัยเพิ่มเติม: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/241423/169174