ผู้แต่ง:
ยุภดี สงวนพงษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
วาสนา แสงทอง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
รจนา เมืองแสน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
ศิริพร พึ่งเพ็ชร์ คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสานวิธี เพื่อศึกษาศักยภาพการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยด้วยการกิน กอด เล่น เล่า และการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยแบ่งการวิจัยเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกที่เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า สภาพการณ์เกี่ยวกับศักยภาพการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้ดูแล จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน พบว่ามีปัญหาในศักยภาพของผู้ดูแล 5 ด้านได้แก่ 1) การรับประทานอาหารของเด็ก 2) การได้รับความอบอุ่นจากผู้ดูแล 3) การเล่น 4) การเล่าเรื่องของเด็ก และ 5) การมีส่วนร่วมในการอบรมเลี้ยงดูเด็กของผู้ดูแล การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนแสดงให้เห็นถึงปัจจัยด้านศักยภาพการอบรมเลี้ยงดูเด็กใน 3 ด้านของผู้ดูแลที่มีความสำคัญ ได้แก่ ความรู้ ทักษะ และ ทัศนคติที่ดีต่อการสนับสนุน ส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามวัย ระยะที่สองเป็นการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ดูแลเด็กจำนวน 155 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามศักยภาพ และการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล ที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.92 และ 0.94 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่าระดับคะแนนศักยภาพ มีระดับคะแนนเรียงจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการกิน การเล่น การกอด และ การเล่า ตามลำดับ การมีส่วนร่วมในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้ดูแลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (×̅=3.79, SD=0.51) ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ การอบรมเลี้ยงดูในฐานะผู้ดูแล(×̅=4.47, SD=0.43)รองลงมาคือ การเรียนรู้ที่บ้าน (×̅=4.09, SD=0.47)
วิธีวิจัย: การวิจัยแบบผสานวิธี
วารสาร: วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
ปี: 2022
ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/258668