เด็กและความรุนแรงในครอบครัว

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่กระทำต่อเด็ก โดยดำเนินการวิจัยด้วยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีการใช้แบบสำรวจการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปกครอง จำนวน 15 ครัวเรือน และเด็กอายุ 10-12 ปี จำนวน 14 คน ที่อาศัยในพื้นที่ชุมชนจันทร์วิโรจน์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ และผู้ปกครองยินยอมให้เข้าร่วม

ผลการศึกษาพบว่า ความรุนแรงในครอบครัวที่กระทำต่อเด็กในพื้นที่ชุมชนจันทร์วิโรจน์ ประกอบด้วย 1) การกระทำความรุนแรงด้านร่างกาย 2) การกระทำความรุนแรงด้านจิตใจ และ 3) การละเลย/ทอดทิ้ง ทำให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต เด็กไม่ได้รับการดูแลเมื่อเจ็บป่วย ใช้สารเสพติด เล่นการพนัน ติดเกม ไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรม/อารมณ์ของตัวเองได้ ทำร้ายผู้อื่น ไม่ทำบัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น

ข้อเสนอแนะที่สำคัญจากการศึกษา คือ แนวทางการป้องกัน

ความรุนแรงในครอบครัวที่กระทำต่อเด็กนั้น ควรใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ทำงานร่วมมือกันในการดูแล แก้ไขปัญหา และปกป้องคุ้มครองเด็กในชุมชน เพราะปัญหาความรุนแรงในครอบครัวไม่ใช่เป็นหน้าที่ของครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของทุกคน

วิธีวิจัย

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

นัสรินทร์ แซสะ หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

หริรักษ์ แก้วกับทอง

วัลภา ฐาน์กาญจน์ ศูนย์อาสาสมัครเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

ฮามีดะห์ เจ๊ะแต

ชื่อวารสาร
วารสารสังคมสงเคราะห์สาร
ปี: 2565

แชร์โพสนี้ :

Facebook
Twitter
LinkedIn

โพสที่เกี่ยวข้อง :