ผลของการสอนแนะพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัว ต่ออาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียน

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียนก่อนและหลังได้รับการสอนแนะพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัว และเปรียบเทียบอาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนแนะพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กออทิสติกอายุ 3-6 ปี และครอบครัวที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยใน สถาบันราชานุกูล ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ โดยได้รับการจับคู่ (Matched pair) และการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 20 คู่ กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมการสอนแนะพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัวต่ออาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียนเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ คู่มือการสอนแนะพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัวสำหรับพยาบาล และคู่มือการดูแลเด็กออทิสติกสำหรับครอบครัว เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินอาการรุนแรงของโรคออทิสซึม แบบประเมินความสามารถของครอบครัวในการเลี้ยงดูเด็กออทิสติก มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .87 และ .88 ตามลำดับ และมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .92 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test)

ผลการวิจัย: 1) อาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียนหลังได้รับการสอนแนะพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัวน้อยกว่าก่อนได้รับการสอนแนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 และ 2) อาการออทิสติกหลังการทดลองของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียนที่ได้รับการสอนแนะพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัวลดลงมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติแต่ไม่แตกต่างกัน

สรุป: การสอนแนะพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัวช่วยให้อาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียนลดลงได้

Methods

เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) ใช้รูปแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง(The pretest–posttest control group design)

Author

ณัฐิรา ทิวาโต
intana Yunibhand, Ph.D., RN)
สุนิศา สุขตระกูล

Journal

วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Year 2556

Click here for more information

Share :

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Posts :