การปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูกเล็กผ่านการเล่นในประเทศไทย: การวิเคราะห์จากการสำรวจกลุ่มตัวชี้วัดหลายมิติ (MICS) ปี 2019

บทคัดย่อ

การปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูกผ่านการเล่นมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทักษะการคิดและความสามารถในการจัดการหรือทักษะสมองส่วนหน้าของเด็ก ในประเทศไทยยังมีหลักฐานไม่มากเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก เพื่อสนับสนุนการติดตามเป้าหมาย SDG 4.2.3 (สัดส่วนของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่ได้รับประสบการณ์ด้านการเรียนรู้ที่ดีและกระตุ้นพัฒนาการในบ้าน) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความถี่ และลักษณะของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูกที่อายุต่ำกว่า 5 ปี

ผู้เขียนได้วิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจกลุ่มตัวชี้วัดหลายมิติครั้งที่ 6 (MICS) ที่จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2562 โดยมีการสัมภาษณ์แบบพบหน้าแม่และ/หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย รวมทั้งหมดมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 8,856 คนที่เข้าร่วมการสำรวจ

ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ (90.3%) ได้ทำกิจกรรมร่วมกับลูกอย่างน้อย 4 ใน 6 กิจกรรม การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบพหุแสดงให้เห็นว่า เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ที่มีการศึกษาระดับมัธยมหรือสูงกว่าระดับมัธยม มีโอกาสสูงกว่าที่จะมีการปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับเด็กที่พ่อแม่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (อัตราส่วนความเสี่ยงปรับค่า (AOR) = 1.66 และ AOR = 2.34 สำหรับระดับมัธยมศึกษาและสูงกว่าระดับมัธยมตามลำดับ)

เด็กที่มีหนังสือเด็กตั้งแต่ 3 เล่มขึ้นไปและมีประสบการณ์การเล่นของเล่น มีโอกาสสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในการมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ (AOR = 3.08 สำหรับการมีหนังสือเด็ก และ AOR = 1.50 สำหรับประสบการณ์การเล่นของเล่น) เด็กที่ใช้เวลาหน้าจอวันละ 1–3 ชั่วโมงมีโอกาสน้อยกว่าที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับเด็กที่ใช้เวลาหน้าจอน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง (AOR = 0.67)

สรุปได้ว่า ด้วยอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีดิจิทัล เราขอแนะนำให้ครอบครัวและชุมชนส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูกผ่านการเล่นกับเด็กเล็ก

คำสำคัญ: เด็ก, พ่อแม่, การปฏิสัมพันธ์, การเล่น, การเติบโตและพัฒนาการ, ทักษะการรับรู้, ประเทศไทย

ผู้เขียน: ฐิติกร โทโพธิ์ไทย รพีพงศ์ สุพรรณชนะชัย ชมพูนุท โทโพธิ์ไทย วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร นิศาชล เศรษฐาคริกุล อรทัย วลีวงศ์

วิธีการ: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review)

วารสาร: วารสารวิจัยนานาชาติด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพสาธารณะ  

ปีที่เผยแพร่: 2565  

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม..https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC8954988/

แชร์โพสนี้ :

Facebook
Twitter
LinkedIn

โพสที่เกี่ยวข้อง :