บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงคุณภาพ แบบชาติพันธ์ุวรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาลักษณะของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตรและผลที่เกิดขึ้นในครอบครัวที่บิดามารดาทำงานในเขตอุตสาหกรรม ผู้เข้าร่วมวิจัยประกอบด้วย 22 ครอบครัว ที่มีบุตรอายุ 12-36 เดือน ทำงานในเขตอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกจากสถานีอนามัย และโรงงานในเขตอุตสาหกรรม ในอำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี
เก็บรวบรวมข้อมูลโดย การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ช่วงเวลาเก็บข้อมูลตั้งแต่ เดือนสิงหาคม 2008 ถึงเดือน กันยายน 2009 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่าในชีวิตประจำวันการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและบุตรเกิดขึ้นใน 5 กิจกรรมคือ การให้อาหารลูก การเล่นกับลูก การสอนลูก การฝึกระเบียบวินัยลูก และการดูแลกิจวัตรประจำวันของลูก ส่วนลักษณะของพฤติกรรมของพ่อแม่เมื่อปฏิสัมพันธ์กับลูก เกิดขึ้นใน 4 ลักษณะ คือ การกระตุ้น การสนับสนุน การไม่สนใจหรือเพิกเฉยและการขู่หรือคุกคามลูก ส่วนลักษณะพฤติกรรมของลูก ในระหว่างปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่มี 2 ลักษณะคือ การให้ความร่วมมือ และการไม่ให้ความร่วมมือ นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบอีกว่า การปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก ส่งผลต่อการเจริญเติบโตด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านภาษา และอารมณ์และสังคมของเด็ก
ผลการศึกษาครั้งนี้จะช่วยให้พยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพ เข้าใจลักษณะปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก สามารถนำความรู้นี้ไปใช้ในการส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูก โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีบุตรในวัยทารกและวัยก่อนวัยเรียน และสามารถพัฒนาโปรแกรมเพื่อเพิ่มคุณภาพการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกที่จะนำไปสู่พัฒนาการเด็กที่ดีขึ้นต่อไป
วิธีวิจัย
การศึกษาเชิงคุณภาพ แบบชาติพันธ์ุวรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดย การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ เชิงลึก และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผู้แต่ง
ณัชนันท์ ชีวานนท์, จินตนา วัชรสินธ์, พิศมัย หอมจำปา, รุจา ภู่ไพบูลย
ชื่อวรสาร
Pacific Rim International Journal of Nursing Research
ปี: 2011