บทบาทของพยาบาลในการเสริมสร้างทักษะ EF (การคิดเชิงบริหารและจัดการชีวิต) ในเด็กปฐมวัย

บทความฉบับนี้กล่าวถึงบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ ในการป้องกันและแก้ปัญหาพัฒนาการล่าช้าในเด็กก่อนวัยเรียนหรือเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นบทบาทของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา และส่งเสริมพัฒนาการ นอกจากต้องส่งเสริมพัฒนาการ 4 ด้าน ปัจจุบันพบว่าการเสริมสร้างทักษะ EF (การคิดเชิงบริหารและจัดการชีวิต: Executive Functions: EF) มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง นอกเหนือจากบทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่บ้าน ครูพี่เลี้ยงที่ดูแลเด็กในสถานพัฒนาเด็กแล้วถือเป็นสิ่งท้าทายสำหรับพยาบาลที่ต้องส่งเสริมให้เด็กเกิดกระบวนการทางความคิด กระตุ้นการทำงานของสมองส่วนหน้าในการทำงานเชื่อมประสานกับสมองส่วนอื่น ๆ และส่งผลต่อพัฒนาการทุกด้านของเด็กก่อนวัยเรียน เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านความคิด ความรู้สึกและการกระทำ รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญของงาน วางเป้าหมายและทำเป็นขั้นตอนจนสำเร็จตามวัยและพัฒนาการ ช่วงอายุ 3 – 6 ปี ถือเป็นโอกาสทองในการฝึกฝนทักษะด้าน EF เนื่องจากเป็นช่วงวัยทองของชีวิต มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการโดยเฉพาะสมองเจริญสูงสุด ซึ่งจะส่งผลให้เด็กเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อสังคม โดยทักษะ EF แบ่งเป็น 3 กลุ่มทักษะรวม 9 ด้าน คือ 1) กลุ่มทักษะพื้นฐาน ได้แก่ ความจำที่นำมาใช้งาน การยับยั้งชั่งใจ และการยืดหยุ่นทางความคิด 2) กลุ่มทักษะกำกับตนเอง ได้แก่ การใส่ใจจดจ่อ การควบคุมอารมณ์ และการรู้จักและตรวจสอบตนเอง และ 3) กลุ่มทักษะปฏิบัติ ได้แก่ การริเริ่มลงมือทำงาน การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการและความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เพื่อสร้างรากฐานกระบวนการคิด การตัดสินใจ และส่งผลให้เด็กในวันนี้ เป็นคนที่ประสบความสำเร็จได้ในอนาคต และมีความสุข

วิธีการศึกษา
ทบทวนวรรณกรรมในด้านคุณภาพเด็กปฐมวัยไทย

ผู้แต่ง

ศิราณี อิ่มน้ำขาว วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

จีระวรรณ ศรีจันทร์ไชย วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

ชื่อวารสาร: วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์

ปี: 2021  

ลิงค์เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

 

แชร์โพสนี้ :

Facebook
Twitter
LinkedIn

โพสที่เกี่ยวข้อง :