Abstract
มาตรการล็อกดาวน์ของไทยเพื่อลดการระบาดของโรค COVID-19 ระลอกแรกมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน นำไปสู่ความเครียด ความวิตกกังวล และปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัว การวิจัยภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ ความเครียด ความวิตกกังวล และสัมพันธภาพในครอบครัว ภายหลังสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ระลอกแรก และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความเครียดของประชาชนช่วงหลังการระบาดของโรค COVID-19 ระลอกแรก เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยช่วงหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ระลอกแรก เดือนพฤษภาคม จำนวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความเครียด (ST5) แบบประเมินความวิตกกังวล ฉบับภาษาไทย (Thai HADS) แบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยจำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบของฟิชเชอร์ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเครียดระดับน้อย 56.2% , ปานกลาง 29.9% และมากถึงมากที่สุด 13.9% ไม่มีความวิตกกังวล 97.8% สัมพันธภาพในครอบครัวที่เปลี่ยนแปลงในเชิงบวก พบว่า ครอบครัวเอาใจใส่ดูแล มากขึ้น 58.4% ส่วนสัมพันธภาพในเชิงลบ พบว่า การทะเลาะ เบาะแว้ง โต้เถียงกันในครอบครัว ยังมีเหมือนเดิม 25.2%, ลดลง 21.1% ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของประชาชนภายใต้การระบาดของโรค COVID-19 ระลอกแรก ได้แก่ ช่วงอายุ กลุ่มอาชีพ จำนวนบุตร และความวิตกกังวล (p< 0.05)ข้อเสนอแนะ พบว่า สุขภาพจิต และสัมพันธภาพในครอบครัวเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบระยะยาว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเพิ่มแนวทางการฟื้นฟูจิตใจให้มีพลังบวก พลังยืดหยุ่น และพลังร่วมมือ ในสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งน่าจะยังคงมีอยู่ในระยะยาว
Methods
การวิจัยเชิงปริมาณแบบพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional descriptive study) โดยใช้แบบสอบถามรูปแบบออนไลน์ (Google from) เป็นเครื่องมือในการศึกษา
Author
นุชนาฎ รักษี
กนกพร ดอนเจดีย์
นันทนัช สงศิริ
วินันดา ดีสวัสดิ์
สาลินี จันทร์เจริญ
อารี อยู่ภู่
Journal
วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย
Year 2021