ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และเสริมสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย โดยครอบครัวมีส่วนร่วม อำเภอปัว จังหวัดน่าน

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และเสริมสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย โดยครอบครัวมีส่วนร่วม อำเภอปัว จังหวัดน่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัย จำนวน 157 คู่ ได้มาจากการสุ่มแบบอย่างง่าย (simple random sampling) เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และเสริมสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย โดยครอบครัวมีส่วนร่วม โดยมีการดำเนินกิจกรรมทั้งหมด จำนวน 4 ครั้ง ระยะเวลา 16 สัปดาห์ ดังนี้ 1.1) สร้างสายใย 1.2) สร้างวินัย 1.3) สร้างเด็กเก่ง ครั้งที่ 1 และ 1.4) สร้างเด็กเก่ง ครั้งที่ 2   2) แบบสอบถามประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ความรู้และทักษะ ส่วนที่ 3 พฤติกรรมในการส่งเสริมพัฒนาการและเสริมสร้างวินัยเชิงบวก และ 3) แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และค่า  t-test dependent

 จากผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะสูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ( = 50.41, S.D. = 3.242)   2) พฤติกรรมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการและเสริมสร้างวินัยเชิงบวกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( = 122.17, S.D. = 4.103)  3) เด็กปฐมวัยมีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าก่อนการใช้กิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( = 14.48, S.D. = 1.066)

Methods

การวิจัยกึ่งทดลอง

Author

จุฬาลักษณ์ ยะวิญชาญ

วิชาภรณ์ คันทะมูล

ระบอบ เนตรทิพย์

Journal

Year 2019

Click here for more information

Share :

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Posts :